วันพฤหัสบดีที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

พระราชประวัติสมเด็จพระสุริโยไท


สมเด็จพระสุริโยไท
สมเด็จพระสุริโยไท หรือ พระสุริโยไท วีรสรีไทยสมัยอยุธยา เป็นอัครมเหสีใน สมเด็จพระหาจักรพรรดิหรือพระเฑียรราชา พระมหากษัตริย์องค์ที่ ๑๕ ของกรุงศรีอยุธยาราชวงศ์สุพรรณภูมิ พระสุริโยไท ตามพงศาวดารหลวงประเสริฐฯ กล่าวเพียงแค่เป็นอัครมเหสีผู้เสียสละพระชนม์ชีพเพื่อปกป้องพระราชสวามี ในสงครามพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ ในปี พ.ศ. ๒๐๙๑ พงศาวดารบางฉบับ กล่าวว่า พระสุริโยไท เป็นเจ้านายเชื้อสายราชวงศ์พระร่วงเจ้ากรุงสุโขทัย โดยมิได้กล่าวรายละเอียดใดมากกว่านี้

พระราชประวัติ

พระราชประวัติของสมเด็จพระสุริโยไทยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่สันนิษฐานว่าสืบเชื้อสายมาจากราชวงศ์สุโขทัย ซึ่งดำรงตำแหน่งพระอัครมเหสีในสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ในขณะที่สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ขึ้นครองราชสมบัติกรุงศรีอยุธยาต่อจากขุนวรวงศาธิราชได้เพียง ๗ เดือน เมื่อ พ.ศ. ๒๐๙๑ พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้และพระมหาอุปราชาบุเรงนองยกกองทัพพม่า-รามัญเข้ามาล้อมกรุงศรีอยุธยาครั้งแรก โดยผ่านมาทางด้านด่านพระเจดีย์สามองค์ จังหวัดกาญจนบุรีและตั้งค่ายล้อมพระนคร การศึกครั้งนั้นเป็นที่เลื่องลือถึงวีรกรรมของ สมเด็จพระศรีสุริโยไท ซึ่งไสช้างพระที่นั่งเข้าขวางพระเจ้าแปรด้วยเกรงว่า สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ พระราชสวามี จะเป็นอันตราย จนถูกพระแสงของ้าวฟันพระอังสาขาดสะพายแล่งสิ้นพระชนม์อยู่บนคอช้าง เพื่อปกป้องพระราชสวามีไว้ เมื่อสงครามยุติลง สมเด็จพระมหาจักรพรรดิได้ทรงปลงพระศพของพระนางและสถาปนาสถานที่ปลงพระศพขึ้นเป็นวัด ขนาน - นามว่า "วัดสบสวรรค์" (หรือวัดสวนหลวงสบสวรรค์)

พระราชโอรสและพระราชธิดา

สมเด็จพระสุริโยไท มีพระราชโอรส-พระราชธิดา ๕ พระองค์ ซึ่งน่าจะเรียงลำดับดังนี้
  • พระราเมศวร พระราชโอรสองค์โต เป็นพระมหาอุปราช ถูกจับเป็นองค์ประกันแก่พม่า และสิ้นพระชนม์ระหว่างไปหงสาวดี
  • พระบรมดิลก พระราชธิดา เสียพระชนม์ชีพพร้อมพระมารดาในสงครามคราวเสียพระสุริโยไท
  • พระสวัสดิราช พระราชธิดา ต่อมาได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น พระวิสุทธิกษัตรีย์ อัครมเหสีในสมเด็จพระมหาธรรมราชาและเป็นพระชนนีของพระสุพรรณกัลยา สมเด็จพระนเรศรมหาราช และสมเด็จพรเอกาทศรถ
  • พระมหินทร์ พระราชโอรสองค์รอง ต่อมาได้ขึ้นครองราชย์เป็น สมเด็จพระมหินทราธิราช กษัตริย์องค์สุดท้ายก่อนเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๑
    ใน ปี พ.ศ. ๒๑๑๒
  • พระเทพกษัตรี พระราชธิดา ภายหลังถูกส่งตัวถวายแด่พระไชยเชษฐาแห่งอาณาจักรล้านช้าง ซึ่งระหว่างการเดินทางถึงชายแดนสยามประเทศ
    พระนางถูกพระเจ้าบุเรงนองกษัตริย์แห่งพม่าทำการชิงตัวไปยังกรุงหงสาวดี สาเหตุที่พระเจ้าบุเรงนองชิงตัวไปก็เพราะพระเทพกษัตรีเป็นหน่อเนื้อของ
    พระสุริโยไท
ในปี พ.ศ. ๒๕๓๕ ได้มีการก่อสร้าง พระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระสุริโยไท ที่บริเวณทุ่งมะขามหย่อง ตำบลบ้านใหม่ อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อเป็นพระอนุสาวรีย์ประดิษฐานพระรูปสมเด็จพระสุริโยไท

วีรกรรม

ความเป็นมาของสงครามระหว่างไทยกับพม่าในครั้งนั้น มีเหตุการณ์สืบเนื่องมาจากพระเจ้าหงสาวดีตะเบงชะเวตี้ ได้รู้ข่าวกรุงศรีอยุธยาเกิดเหตุวุ่นวาย เมื่อสิ้นรัชกาลสมเด็จพระไชยราชาธิราช เกิดการแย่งชิงราชสมบัติระหว่างพระแก้วฟ้า พระราชโอรส และขุนวรวงศาธิราช และอัญเชิญพระราชอนุชาต่างพระชนนีในสมเด็จพระไชยราชาธิราชขึ้นเสวยราชสมบัติทรงพระนามว่า “สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ” เมื่อกองทัพพระเจ้ากรุงหงสาวดียกมาถึงกรุงศรีอยุธยา แล้วกองทัพกรุงศรีอยุธยาได้ยกออกไป กองทัพฝ่ายกรุงศรีอยุธยาของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ซึ่งมีสมเด็จพระสุริโยไท พระอัครมเหสี และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอทั้งสองพระองค์ เสด็จมาในทัพด้วยนี้ ได้ปะทะกับกองทัพพระเจ้าแปร ซึ่งเป็นทัพหน้าของพระเจ้ากรุงหงสาวดี ได้ทรงเข้าชนช้างกัน ความในพงศาวดารไทยรบพม่าพรรณนาไว้ว่า
“...ช้างพระที่นั่งสมเด็จพระมหาจักรพรรดิเสียที สมเด็จพระสุริโยไทเกรงพระราชสวามีจะเป็นอันตราย จึงขับช้างทรงเข้าขวางช้างข้าศึกไว้ พระเจ้าแปรได้ทีฟันสมเด็จพระสุริโยไท ด้วยสำคัญว่าเป็นชายสิ้นพระชนม์ซบลงกับคอช้าง…”

พระราชประวัติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี



 
                  สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี  
 พระราชประวัติ              สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงมีพระนามเดิมว่า สังวาลย์ ตะละภัฏ พระราชสมภพเมื่อ  วันอาทิตย์ที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๔๓   ทรงเป็นบุตรคนที่ ๓ ใน พระชนกชู และ พระชนนีคำ ทรงมีพระภคินี และพระเชษฐา ๒ คนซึ่งได้ถึงแก่กรรมตั้งแต่เยาว์วัย คงเหลือแต่พระอนุชาอ่อนกว่าพระองค์ ๒ ปี คือ คุณถมยา
 
ต่อมาเมื่อพระองค์ถูกส่งไปศึกษาที่โรงเรียนสตรีวิทยา โดยประทับอยู่บ้าน คุณหวน หงสกุล เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๖ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีทรงตัดสินพระทัยเข้าโรงเรียนแพทย์ผดุงครรภ์ และหญิงพยาบาลแห่งศิริราช  ตามคำชักชวนจากพระยาดำรงแพทยกุล  หลังจากสำเร็จการศึกษา ทรงได้รับการคัดเลือกให้ไปทรงศึกษาวิชาพยาบาลต่อที่ โรงเรียนแพทย์มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดสหรัฐอเมริกา  พร้อมกับนางสาวอุบล ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา และ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนสงขลานครินทร์
 
ขณะที่กำลังทรงศึกษาวิชาแพทย์ปีที่ ๑  สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนสงขลานครินทร์ ทรงพบและพอพระทัยกับสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี  ด้วยมีพระสิริโฉมงดงาม  พระอุปนิสัย  และพระคุณสมบัติอื่นๆ ดังนั้นสมเด็จเจ้าฟ้าฯ  กรมขุนสงขลานครินทร์จึงทรงมีลายพระหัตถ์กราบบังคมทูลสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า พระราชมารดาขอพระราชทานพระราชานุญาตหมั้นกับ นางสาวสังวาลย์  และเมื่อถึงวันศุกร์ที่ ๑๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๖๓ ได้มีพิธีอภิเษกสมรสที่วังสระปทุม และหลังจากได้อภิเษกสมรสแล้ว  ทั้ง ๒ พระองค์ได้ตามเสด็จด้วยกันไปประพาสเมืองต่างๆ ในทวีปยุโรป และ สหรัฐอเมริกา เพื่อทรงไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และสถาบันเอ็มไอที เมืองบอสตัน  ส่วนสมเด็จพระบรมราชชนนี ทรงเรียนหลักสูตรเตรียมพยาบาลที่วิทยาลัยซิมมอนส์ เมืองบอสตัน
 
หลังจากทั้ง ๒ พระองค์ทรงจบการศึกษาแล้ว จึงทรงเสด็จไปที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ซึ่งสมเด็จพระบรมราชชนนี ได้ประสูติพระราชธิดาพระองค์แรก เมื่อวันที่ ๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานนามว่า หม่อมเจ้ากัลยาณิวัฒนา มหิดล  ซึ่งภายหลังทรงได้รับการสถาปนาพระอิสริยศักดิ์เป็นสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
 
ในเดือน ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๖๖  ทั้ง ๒ พระองค์ได้เสด็จกลับเมืองไทยพร้อมด้วยพระราชธิดา  เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ  ให้สมเด็จพระบรมราชชนกทรงดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมมหาวิทยาลัย  ประทับอยู่ได้ประมาณ ๒๐ เดือน  ก็ทรงประชวร แพทย์จึงถวายคำแนะนำให้ประทับในที่อากาศเย็น ที่เมือง ไฮเดลเบอร์ก ประเทศเยอรมนี สมเด็จพระบรมราชชนนี และพระราชธิดาจึงได้ตามเสด็จไปประทับด้วย   
 
สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ได้ประสูติพระราชโอรสพระองค์แรก เมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๖๘ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระนามว่า หม่อมเจ้าอานันทมหิดล 
 
ในวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๘  พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคต ทั้ง ๒ สมเด็จพระบรมราชชนกจึงทรงต้องเสด็จกลับกรุงเทพฯ เพียงพระองค์เดียว  เพื่อถวายพระเพลิงพระบรมศพ และประทับอยู่จนถึงปี พ.ศ. ๒๔๖๙
พระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๐ พระศรีนครินทราบรมราชชนนี  ได้ประสูติพระราชโอรสองค์ที่สองที่  โรงพยาบาลเมาท์ออเบิร์น เมืองเคมบริดจ์  สหรัฐอเมริกา ได้รับพระราชทานนามจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า  พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลยเดช
 
                ขณะที่สมเด็จพระบรมราชชนกทรงศึกษาวิชาแพทย์ปีสุดท้ายอยู่ที่เมืองบอสตัน ทรงประชวรโรคพระวักกะกำเริบ และพระโรคหวัด  แต่ก็ยังทรงสามารถสอบได้ปริญญาแพทยศาสตร์ขั้นเกียรตินิยม แต่หลังจากสอบเสร็จ และประชวรพระโรคไส้ติ่งอักเสบ   ทั้งสองพระองค์ได้พาพระราชโอรสธิดาเดินทางกลับประเทศไทย  โดยประทับที่พระตำหนักใหม่สร้างขึ้นในวังสระปทุม ถนนพญาไท 
 
เมื่อเดือน เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๒ สมเด็จพระบรมราชชนกทรงรับเชิญเป็นแพทย์ประจำบ้าน จากโรงพยาบาลแมคคอร์มิก จังหวัดเชียงใหม่ และในเดือนต่อมาก็ทรงเสด็จกลับกรุงเทพมหานคร หลังจากนั้นก็ทรงพระประชวรอยู่ เป็นระยะเวลาประมาณ ๔ เดือนก็สิ้นพระชนม์ เมื่อ วันที่ ๒๔ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๒ ที่พระตำหนักใหม่ วังสระปทุม  ในขณะที่สมเด็จพระบรมราชชนกสิ้นพระชนม์  สมเด็จพระบรมราชชนนีทรงมีพระชนมายุเพียง ๒๙ พรรษา ทรงต้องรับหน้าที่อบรมเลี้ยงดูพระราชโอรสธิดาทั้งสามพระองค์ตามลำพัง
 
               เมื่อวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑  คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ได้ประกาศสถาปนา  พระอิสริยยศสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเป็น สมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์    นอกจากนั้นพระองค์ยังพระราชทานเงินส่วนพระองค์สร้างโรงพยาบาลอานันทมหิดล  จังหวัดลพบุรี  สร้างสุขศาลา  จังหวัดสมุทรสาคร  เมื่อวันที่  ๒๔  มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑   
 
                                                  พระราชกรณียกิจ  
 
พระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี  ที่ทรงมีต่อชาวไทยและประเทศชาตินั้นใหญ่หลวงมาก เพราะตั้งแต่ทรงเษกสมรสกับสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ ทรงมีพระอุตสาหวิริยะสูงในการทรงงาน เพื่อประโยชน์สุขของปวงชนชาวไทยทุกหมู่เหล่า ตั้งแต่เหนือสุด จรด ใต้สุด
 
                                     การแพทย์ พยาบาล การสาธารณสุข และการศึกษา  
 
สมเด็จย่าทรงจัดตั้งหน่วยและมูลนิธิที่สำคัญขึ้น  ดังนี้
 
 - หน่วยแพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี(พอ.สว.)   เป็นหน่วยแพทย์อาสาเคลื่อนที่ที่เดินไปในถิ่นทุรกันดาร ประกอบด้วย แพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร พยาบาล เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และสมาชิกสมทบอีกคณะหนึ่ง ซึ่งไม่ได้รับสิ่งตอบแทน และ เบี้ยเลี้ยง เงินเดือน - มูลนิธิขาเทียม   จัดตั้งเมื่อ ๑๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ - มูลนิธิถันยรักษ์   ที่โรงพยาบาลศิริราช เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๘ เพื่อใช้เป็นสถานที่ตรวจวินิจฉัยเต้านม - ทรงบริจาคเงินเพื่อสร้างโรงเรียนกว่า ๑๘๕ โรงเรียน  และทรงรับเอาโครงการของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนไว้ในพระราชูปถัมภ์
 
                               การอนุรักษ์ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม         
                      
                สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงเป็นพระราชวงศ์ที่โปรดธรรมชาติมาก ทรงสร้างพระตำหนักดอยตุง ขึ้นบริเวณดอยตุง เนื้อที่ ๒๙ ไร่ ๓ งาน ที่บ้านอีก้อป่ากล้วย อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย ด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เอง ในพื้นที่เช่าของกรมป่าไม้เป็นเวลานาน ๓๐ ปี มีความสูงกว่าระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ ๑๐๐๐ เมตร โดยทรงเรียกพระตำหนักนี้ว่า บ้านที่ดอยตุง ทรงพัฒนาดอยตุง และส่งเสริมงานให้ชาวเขาอีกด้วย ดังนี้
 
 
                 -  โครงการพัฒนาดอยตุง เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๑
 
                 -  ทรงพระราชทานกล้าไม้แก่ผู้ตามเสด็จ และทรงปลูกป่าด้วยพระองค์เอง
 
                 -  ทรงนำเมล็ดกาแฟพันธุ์อาราบิกา และไม้ดอกมาปลูก
 
                 -  โครงการขยายพันธุ์โดยวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อหน่อไม้ฝรั่ง  กล้วย  กล้วยไม้  
เห็ดหลินจือ  สตรอเบอร์รี่
 
                -  จัดตั้งศูนย์บำบัด และฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ที่บ้านผาหมี ตำบลเวียงพางคำ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย 
 
                 จากพระราชอุตสาหะดังกล่าว และโครงการที่ยังมิได้นำเสนอขึ้นมาข้างต้นนี้ ยอดดอยที่เคยหัวโล้นด้วยการถางป่า ทำไร่เลื่อนลอยปลูกฝิ่น จึงได้กลับกลายมาเป็นดอยที่เต็มไปด้วยป่าไม้ตามเดิม ด้วยเหตุนี้ พระองค์จึงทรงได้รับขนานนามว่า สมเด็จย่าแม่ฟ้าหลวง จากชาวไทย ของชาวไทย
                 ในวันอังคารที่ ๑๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๘ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีทรงได้เสด็จสวรรคต แต่พระเกียรติคุณ และพระมหากรุณาธิคุณ ที่ทรงปรารถนาให้ชาวไทยมีความสุข ยังคงสถิตถาวรอยู่ในความทรงจำของพสกนิกรทั่วไทยตลอดกาล และในวันที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ เป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพครบรอบ ๑๐๐ ปี องค์การวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก ได้เฉลิมพระเกียรติยกย่องให้สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงเป็น บุคคลสำคัญของโลก

ประวัติสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์


สมเด็จเจ้าพระยา
บรมมหาศรีสุริยวงศ์
            สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง  บุนนาค)  เป็นบุตรชายคนใหญ่ของสมเด็จเจ้าพระยามหาประยูรวงศ์ (ดิศ)  กับท่านผู้หญิงจันทร์  เกิดเมื่อวันที่ ๒๓ ธันวาคม  พ.ศ. ๒๓๕๑  ในวัยเด็กได้รับการศึกษาจากวัด  เมื่อเข้าสู่วัยรุ่นในสมัยรัชกาลที่ ๒ บิดาซึ่งขณะนั้นเป็นพระยาพระคลัง  นำไปถวายตัวเป็นมหาดเล็ก และทำงานด้านพระคลังและกรมท่าอยู่กับบิดา  ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๓  รับราชการมีความชอบมาก  ได้เลื่อนบรรดาศักดิ์มาตามลำดับ  จนเป็นหมื่นไวยวรนาถ  ใน พ.ศ. ๒๓๘๔  และเป็นพระยาศรีสุริยวงศ์ในตอนปลายรัชกาล  ครั้นถึงสมัยรัชกาลที่ ๔  ได้เลื่อนขึ้นเป็นเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์  ว่าที่สมุหกลาโหมเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์เป็นผู้ฝักใฝ่สนใจศึกษาศิลปวิทยาของตะวันตก จึงจัดเป็นพวกหัวใหม่คนหนึ่งของสมัยนั้น  ท่านกับบิดาของท่านได้คอยช่วยเหลือสนับสนุนพวกมิชชันนารีที่เข้ามาสมัยรัชกาลที่ ๓  เพื่อให้เผยแพร่วิทยาการและเทคโนโลยีสมัยใหม่ออกไป  เมื่อเซอร์จอห์นเบาว์ริง  เข้ามาทำสนธิสัญญาเบาว์ริงกับไทยในสมัยรัชกาลที่ ๔ เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ทรงเป็น ๑ ใน ๕ ที่รัชกาลที่ ๔ ทรงแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษาข้อสัญญากับเซอร์จอห์น เบาว์ริง  ทำการทำสนธิสัญญาสำเร็จลุล่วงได้ด้วยดี  และต่อมาท่านได้เป็นผู้แทนฝ่ายไทยในการทำสนธิสัญญาลักษณะเดียวกันกับนานาประเทศในตอนปลายรัชกาลที่ ๔  พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว  ซึ่งเป็นวังหน้าหรือพระมหาอุปราชสวรรคต รัชกาลที่ ๔ ไม่ได้ทรงตั้งผู้หนึ่งผู้ใดขึ้นแทน ครั้นเมื่อรัชกาลที่ ๔ สวรรคตใน พ.ศ. ๒๔๑๑  ที่ประชุมเสนาบดีและพระบรมวงศานุวงศ์จึงได้อัญเชิญเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ขึ้นเสวยราชย์เป็นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  และเชิญเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ขึ้นเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน  โดยมีมติเป็นเอกฉันท์  นอกจากนี้ยังเชิญกรมหมื่นบวรวิชัยชาญ  พระโอรสองค์ใหญ่ของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว  ขึ้นเป็นกรมพระราชวังบวงสถานมงคล แม้จะมีผู้คัดค้านว่าการตั้งผู้ดำรงตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล  ควรให้เป็นพระราชอำนาจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  แต่เสียงส่วนใหญ่ก็เห็นว่าควงจะตั้งไปเลย  ทั้งนี้อาจเพราะเกรงใจ เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์  ซึ่งสนับสนุนกรมหมื่นบวรวิชัยชาญนับเป็นครั้งแรกในสมัยรัตนโกสินทร์ที่พระมหากษัตริย์ขึ้นเสวยราชย์  ขณะพระชนมพรรษาเพียง ๑๕ พรรษา  และมีผู้ดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแผ่นดินเป็นผู้ใช้อำนาจแทน  จึงมีผู้หวั่นเกรงว่าอาจมีการชิงราชสมบัติดังเช่นที่พระยากลาโหมกระทำในสมัยอยุธยา  แต่เหตุการณ์เช่นนั้นก็มิได้เกิดขึ้น  เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์  ได้บริหารราชการมาด้วยความเรียบร้อย  พร้อมกันนั้นก็ได้จัดให้รัชกาลที่ ๕  ทรงได้รับการฝึกหัดการเป็นพระมหากษัตริย์ตามโบราณราชประเพณี  และให้ทรงเรียนรู้ศิลปวิทยาการสมัยใหม่ควบคู่ไปด้วย  นอกจากนั้นยังจัดให้เสด็จประพาสสิงคโปร์และชวาใน พ.ศ. ๒๔๓๑  อินเดียและพม่าใน พ.ศ. ๒๔๑๕  เพื่อทอดพระเนตรแบบแผนการปกครอง ขนบธรรมเนียมประเพณี ความเจริญของประเทศที่อยู่ในความปกครองของตะวันตก  ซึ่งรัชกาลที่ ๕ ได้ทรงนำแบบอย่างที่เหมาะสมมาปรับปรุงประเทศให้เจริญก้าวหน้าในเวลาต่อมาเมื่อรัชกาลที่ ๕  ทรงบรรลุนิติภาวะใน พ.ศ. ๒๔๑๖  ได้มีพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเป็นครั้งที่ ๒  ซึ่งแสดงว่าจะทรงว่าราชการบ้านเมืองเอง  ในพระราชพิธีครั้งนี้โปรดเกล้าฯ  ให้เลื่อนบรรดาศักดิ์เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์เป็นสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์
                แม้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์จะพ้นจากตำแหน่งผู้สำเร็จราชกาลแผ่นดินแล้ว  แต่ก็คงทำหน้าที่ที่ปรึกษาราชการแผ่นดินต่อมา  จนถึงแก่พิราลัยใน พ.ศ. ๒๔๒๕  รวมอายุได้ ๗๔  ปี

ประวัติพระสุพรรณกัลยา



พระสุพรรณกัลยา
               พระสุพรรณกัลยาทรงเป็นพระธิดาใน สมเด็จพระมหาธรรมราชา และ พระวิสุทธิกษัตรีย์ เป็นพระพี่นางของ สมเด็จพระนเรศวร มหาราช และสมเด็จ พระเอกาทศรถ สมภพเมื่อวันเสาร์ ปีมะเส็ง พุทธศักราช ๒๐๙๕ ณ พระราชวังจันทน์ เมืองพิษณุโลก (บริเวณ ที่ตั้ง โรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม ในปัจจุบัน) พระองค์เป็น วีรสตรี ผู้กล้าหาญ เด็ดเดี่ยว ทรงเสียสละความสุขส่วนพระองค์ ยอม พลัดพรากจากแผ่นดินไทย ไปเป็นองค์ประกัน ณ กรุงหงสาวดี เพื่อแลกกับ องค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช และ  สมเด็จพระ เอกาทศรถ ต่อมาได้ทรงสิ้นพระชนม์ชีพในแผ่นดินพม่าอย่างไร้พิธีอัน
สมระยศ ความ เสียสละอัน ใหญ่หลวง ของพระองค์ในครั้งนั้น   เป็นผลทำให้  สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงกลับมากอบกู้ เอกราชของชาติไทยได้สำเร็จ วีรกรรมดังกล่าวของ พระสุพรรณกัลยา  จึงสมควรได้รับการเทิดพระเกียรติให้แพร่หลาย  ยิ่งขึ้นสืบไปตลอดกาลนานสถานที่สักการะบูชา :
"พระอนุสาวรีย์ พระสุพรรณกัลยาณี" ณ ค่ายสมเด็จพระนเรศวร มหาราช (กองทัพภาคที่ ๓) อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก
หลังสงครามเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งแรก เมื่อปี พุทธศักราช ๒๑๑๒ พระนาง และพระอนุชา ทั้งสอง พระองค์ ได้ถูกพระเจ้าบุเรงนอง กวาดต้อนไปเป็น เชลยยังเมืองหงสาวดี พร้อมด้วย พระมหินทราธิราช เจ้าเหนือหัว แต่พระมหินทราธิราช เสด็จสวรรคตที่เมืองอังวะเสียก่อน พม่าจึงแต่งตั้งให้ พระมหา ธรรมราชา ขึ้นครองกรุงศรีอยุธยา ในขณะที่โอรสและธิดายังเป็นเชลยอยู่ เพื่อเป็นองค์ประกัน ป้องกัน การคิดทรยศของฝ่ายไทยทั้งสามพี่น้อง อยู่ที่หงสาวดีถึง ๖ ปี จึงได้กลับมากรุงศรีอยุธยาครั้งหนึ่ง เมื่อพระนางมีพระชนมายุได้ ๑๙ พรรษา ด้วยเหตุที่ พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง เกิดความพึงใจใน พระสิริโฉม ของพระสุพรรณกัลยา จึงมาสู่ขอจากพระมหาธรรมราชา และนำกลับไปอภิเษก เป็น พระชายา ณ เมืองหงสาวดี ต่อมาพระนางได้ออกอุบาย ทูลขอให้พระอนุชาทั้งสองพระองค์ กลับสู่ กรุงศรีอยุธยา โดยอ้างว่า เพื่อไปช่วยพระบิดารับศึก พระยาละแวกแห่งเขมร พระสุพรรณกัลยา มีสภาพเหมือนถูกทอดทิ้ง ให้ผจญกรรมเพียงลำพัง กับไพร่พลเล็กน้อย ในท่ามกลางหมู่อริราช ศัตรู ทั้งสิ้น แต่กระนั้นพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง ก็ทรงมีพระเมตตารักใคร่สิเนหา แก่พระสุพรรณกัลยา อยู่ไม่น้อย และด้วยบารมีแห่งพระสุพรรณกัลยา ได้ปกแผ่คุ้มครองแก่คนไทย ที่ตกเป็นเชลย อยู่ใน เมืองพม่า มิให้ได้รับความลำบาก ต่อมามังไชยสิงหราช(นันทบุเรง)โอรสของพระเจ้าบุเรงนอง เป็น ผู้มักมากในกามคุณ และต้องการเป็นใหญ่ จึงร่วมมือกับชายาชาวไทยใหญ่ นามว่า "สุวนันทา" วางแผนชิงราชสมบัติ และแย่งอำนาจ ทำให้พระเจ้าบุเรงนองตรอมพระทัย และสวรรคต อย่างกระทัน หัน เมื่อพระเจ้านันทบุเรงขึ้นครองราชย์ เกิดความวุ่นวาย เนื่องด้วยการไม่ยอมรับ ของพระญาติวงศ์ หลายฝ่าย ทำให้พระเจ้านันทบุเรง เกิดความหวาดระแวง กอปรด้วยรู้ว่า มีการรวบรวมไพร่พล เตรียม การกู้ชาติ ของ พระนเรศวรและพระเอกาทศรถ ทางเมืองไทย จึงสั่งจับจองจำพระมารดา เลี้ยง (พระสุพรรณกัลยา) และพระธิดาองค์แรกของพระนางให้อดอาหาร ลงโทษทัณฑ์ ทุบตี โบย อย่างทารุณ ในขณะที่พระนางทรงครรภ์แปดเดือน จนพระธิดาสิ้นพระชนม์ จากนั้น ก็ทำทารุณกรรมต่อพระนางอีก จนอ่อนเปลี้ยสิ้นเรี่ยวแรง แล้วใช้ดาบฟัน ฆ่าพระนางพร้อมด้วยทารกในครรภ์ แม้ร่างกายของพระนาง สิ้นสูญแล้ว ก็ยังไม่เป็นที่สาแก่ใจ ของพระเจ้านันทบุเรง แม้ดวงพระวิญญาณของพระองค์ ก็ถูก กระทำ พิธีทางไสยศาสตร์ ตราสังรัดตรึง ไม่ให้วิญญาณกลับสู่เมืองไทย ให้วนเวียนอยู่ อย่างทุกข์ทรมาน นานนับร้อยปี ... ในปีพุทธศักราช ๒๔๙๑ หลวงปู่โง่น โสรโย แห่งวัดพระพุทธบาทเขารวก อำเภอ ตะพานหิน จังหวัดพิจิตร ได้รับกิจนิมนต์จาก พระมหาปีตะโก ภิกขุ ให้ไปช่วยงานด้านประติมากรรม ซ่อมแซมรูปลายฝาผนัง ที่เมืองพะโค (หงสาวดี) ประเทศพม่า ในขณะนั้น ประเทศพม่า มีเหตุการณ์ ทางการเมืองภายใน เกี่ยวกับสมณศักดิ์พระภิกษุ หลวงปู่โง่น พลอยต้องอธิกรณ์โทษการเมืองไปด้วย กลับเมืองไทยไม่ได้ ระหว่างถูกกักบริเวณ ท่านใช้เวลาในการฝึกจิต กำหนดตัวแฝง และพลังแฝง ในกายได้ สามารถติดต่อกับโลกวิญญาณ และได้เข้าถึงกระแสพระวิญญาณที่สื่อสารต่อกัน กล่าวว่า ท่านเคยเป็นนายทหารช่าง สร้างบ้านเรือน ทั้งยังเคยถูกพม่ากวาดต้อนไป พร้อมกับพระนางในครั้งนั้น เคยเป็นข้ารับใช้ ในสมัยกรุงศรีอยุธยา และกรุงธนบุรี พระสุพรรณกัลยา ได้ขอร้องให้หลวงปู่โง่น ช่วยแก้พันธนาการทางไสยศาสตร์ เพื่อดวงพระวิญญาณของพระองค์ จะได้กลับไปเมืองไทย และให้นำ ภาพลักษณ์ของพระองค์ อันเกิดจากกระแสพระวิญญาณ เผยแพร่ให้แก่ชาวไทย ผู้ลืมพระองค์ ท่าน ไปแล้ว พระองค์จะกลับมาทำคุณประโยชน์ ช่วยเหลือประเทศชาติ ทั้งยังปณิธาน จะกลับมาอุบัติเป็น เจ้าหญิงในปัจฉิมสมัยของวงศ์กษัตริย์ไทย จะสร้างบารมี ประกอบคุณความดี เพื่อให้อยู่ในหัวใจ ของคนไทยทั้งประเทศ ด้วยเหตุเพราะ  คนไทย ลืมคุณกู้ชาติของพระองค์ ที่ยอมสละความสุขในชีวิต เพื่อให้สมเด็จพระนเรศวรมหาราช และสมเด็จพระเอกาทศรถ มีโอกาสกู้ชาติบ้านเมืองได้สำเร็จ ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น หลวงปู่โง่น โสรโย และท่านพลโทถนอม วัชรพุทธ แม่ทัพกองทัพภาคที่ ๓ ได้ร่วมมือกันสร้างพระอนุสาวรีย์ ของพระสุพรรณกัลยา มีขนาดเท่าองค์จริง และได้อัญเชิญ มา ประดิษฐานไว้ ณ ริมฝั่งแม่น้ำน่าน ในบริเวณ "ค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช" ใกล้กับพระบรม ราชานุสาวรีย์ พระอนุชาทั้งสองพระองค์ โดยได้นำส่วนของสรีระ เช่น กระดูก ฟัน และเครื่องประดับ ของมีค่าบางอย่าง ที่ขุดค้นได้จาก แหล่งฝังพระศพของพระนาง นำมาบรรจุ ในพระอุระของพระรูปด้วย เพื่อให้ชาวไทยทุกคน ได้มีโอกาสเคารพสักการะ วีรสตรีผู้เสียสละยิ่งใหญ่กว่าผู้ใด เพียงให้สยามไทย ได้คงอยู่ชั่วฟ้าดิน ...

วันเสาร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ประวัติสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี





สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี ในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฏฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ ทรงเป็นสมเด็จพระบรมราชชนนี พระพันปีหลวงในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น ทรงเป็นพระธิดาใน สมเด็จพระบรมราชมาตามหัยกาเธอกรมหมื่นมา ตยาพิทักษ์ (พระองค์เจ้าศิริวงศ์) และ พระชนนีน้อย ประสูติ เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน๘ อุตราษฒ ขึ้น๑๒ ค่ำ ปีมะเมียจุลศักราช ๑๑๙๖ ตรงกับวันที่ ๑๗ กรกฏาคม พ.ศ .๒๓๗๗

ทรงกำพร้าทั้งพระชนก และ พระชนนี ตั้งแต่ทรงพระเยาว์ สมเด็จพระบรมอัยยิกาธิราชเจ้า พระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อยู่ในพระอภิบาลของสมเด็จพระปิตุจฉา สมเด็จพระ เจ้าบรมมไหยิกาเธอ กรมพระสุดารัตน์ราชประยูร ณ พระตำหนักตึก ในพระบรมมหาราชวัง
เมื่อเสด็จเข้าไปประทับอยู่ในพระบรมมหาราชวัง เสด็จอาผู้ทรงอภิบาลบำรุงได้จัดให้เสด็จขึ้นเฝ้า สมเด็จ พระบรมอัยยิกา อยู่เนืองนิจ เมื่อทรงมีอายุพอถวายงานพัดได้ ทรงได้รับการสอนจากเสด็จอา ให้รู้จักวิธี การถวายงานพัด แม้ขณะนั้นจะทรงพระเยาว์ (๕ พระชันษา) แต่ก็ถวายอยู่งานพัดถวายสมเด็จพระอัยยิ กา ได้อย่างดีและถูกแบบแผน เป็นโปรดปรานพอพระราชหฤทัยของสมเด็จ พระอัยยิกาธิราชเป็นยิ่งนัก สมเด็จพระอัยยิกาธิราชจึงทรงพระราชทานพระนามว่า "หม่อมเจ้าหญิงรำเพย" ซึ่งหมายถึงการพัดอย่าง โชยๆ ถูกแบบแผนราชประเพณี


มีเรื่องเล่ากันว่าพระภิกษุพระศรีสุทธิวงศ์ ได้ไปประเทศลังกาในขากลับได้นำเอาต้นไม้ชนิดหนึ่งเข้าถวาย สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวพระองค์ทรงโปรดไม้นั้นมาก และ ได้พระราชทานชื่อไม้นั้นว่า"รำเพย"ตาม พระนามของพระเจ้าหลานเธอ

ครั้นล่วงเข้ารัชสมัยของ พระบาทสมเด็จ พระปรเมนทรมหามงกุฏฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ เมื่อถึงปี พ.ศ.๒๓๙๕ สมเด็จพระนางเจ้าโสมนัสวัฒนาวดี พระมเหสีของ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จ สวรรคต พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระราชทานสมมตยาภิเษก "หม่อมเจ้าหญิงรำเพย" ขึ้น เป็นพระราชเทวี ทรงพระนามว่า "พระนางเธอพระองค์เจ้ารำเพยภมราภิรมย์" ทรงดำรงตำแหน่งพระอัครมเหสี และต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระอิสริยยศเป็นที่ "สมเด็จพระนางรำเพยภมราภิรมย์"

ข้อสังเกตุในพระนามของพระองค์ที่สมเด็จพระอัยยิกาธิราช(ร.๓) ทรงพระราชทานให้นั้นแปลว่า ลมเย็นที่พัดค่อยๆอ่อนๆ แต่ พระนามที่พระราชสวามี(ร.๔)ทรงพระราชทานนั้นแปลว่าทรงเป็น บุปผชาติที่เป็นที่ยินดีและเป็นที่พักพิงของมวลหมู่ภมร
สมเด็จพระนางรำเพยภมราภิรมย์ ทรงมีพระราชโอรส และพระราชธิดารวม ๔ พระองค์คือ

๑. สมเด็จเจ้าฟ้าชายจุฬาลงกรณ์ ต่อมาเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ เป็น
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

๒. สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงจันทรมณฑลโสภณภควดี
ต่อมาได้รับโปรดเกล้าฯเฉลิมพระนามอัฐิ เป็น สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงวิสุทธิกษัตริย์

๓. สมเด็จเจ้าฟ้าชายจาตุรนต์รัศมี
ต่อมาได้รับโปรดเกล้าฯสถาปนาขึ้น เป็น สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระจักรพรรดิพงศ์

๔. สมเด็จเจ้าฟ้าชายภาณุรังษีสว่างวงศ์
ต่อมาได้รับโปรดเกล้าฯสถาปนาขึ้น เป็น สมเด็จพระราชปิตุลา
บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุ์วงศ์วรเดช
สมเด็จพระนางรำเพยภมราภิรมย์ ทรงเป็นขัตติยนารีที่มีพระจริยวัตร อ่อนโยน เรียบร้อย เป็นที่ สนิทเสน่หา ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวยิ่งนัก พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเรียกพระ นามของพระองค์ว่า "รำเพย" บ้าง "แม่รำเพย" บ้าง "แม่เพย"บ้าง ดังปรากฏในลายพระราชหัตถเลขาถึงเจ้า จอมมารดาพึ่ง เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินไป พระราชทานผ้าพระกฐิน ณ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อปี พ.ศ.๒๓๙๘ ดังนี้ ".....ลูกเมียและคนทั้งปวงที่มาด้วย ก็สบายอยู่หมดทุกคน ทูลพระองค์ลม่อมให้ทราบด้วยว่า ฟ้าชายฟ้าหญิงกับรำเพยสบายดี แม่พาลูกทั้งเล็กทั้งใหญ่ไปเที่ยวหลายแห่ง ก็ไม่เจ็บไข้อะไรดอก ...... "
สมเด็จพระนางรำเพยภมราภิรมย์ ทรงมีพระพลานามัยไม่ค่อยแข็งแรง ตั้งแต่ปีพ.ศ.๒๓๙๙ และ ยิ่งหลังจาก การประสูติสมเด็จเจ้าฟ้าชายภาณุรังษีสว่างวงศ์ พระราชโอรสองค์ที่๔ ในปี พ.ศ.๒๔๐๒ ก็ทรงประชวรเรื่อย มา ดังปรากฎใน พระราชหัตถเลขาใน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานถึง พระองค์เจ้า ปัทมราช ฉบับลงวันที่ ๔ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๐๓ ความว่า "...กระหม่อมฉันกับทั้งญาติพี่น้อง บุตร ภรรยา อยู่ ดีเป็นสุขสบายอยู่หมด แต่แม่รำเพยตั้งแต่ คลอดบุตรชายภาณุรังษีสว่างวงศ์ มาแล้ว ป่วยให้ไอ แลซูบผอม มากไป....."
และอีกฉบับลงวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๐๔ มีข้อความว่า

"....แม่เพย ไออาเจียนเป็นโลหิต ออกมา แต่หมอ ยังแก้ไข ก็ค่อยคลายมา โลหิตออกบ้างเล็กน้อย จางไปแล้ว ครั้น ณ วันอาทิตย์ ขึ้น สี่ค่ำ เดือนสิบ เวลากลางคืนเธอว่าค่อยสบายไอห่างไป นอนหลับได้มาก ตั้งแต่สามยาม ไปจนถึงสามโมงเช้า ครั้น ณ วันจันทร์ ขึ้นห้าค่ำ เดือนสิบ ตื่นขึ้นมาอีกที เวลาสามโมงเช้า รับประทาน อาหาร ได้ถ้วยฝาขนาดใหญ่ แล้วนั่งเล่นอยู่กับ บุตรคนเล็ก ไอเป็นโลหิตออกมา แล้วเกิดโลหิต พลุ่งพล่าน มากที่สุด ออกทั้งทางจมูกทางปาก หลายถ้วยแก้วกระบอก ไม่มีขณะหายใจพอโลหิตมากแล้ว ชีพจรทั้งตัวก็หยุดทีเดียว ไม่ฟื้นเลย ได้รับประทานจัดการไว้ศพในโกดังที่ตึกต้นสน..."

สมเด็จพระนางรำเพยภมราภิรมย์ ทรงประชวรด้วยโรควัณโรค จนเสด็จสู่สวรรคต ณ วันจันทร์ เดือน ๑๑ ขึ้น๕ค่ำ ปีระกา ตรีศก จุลศักราช๑๒๒๓ ตรงกับวันที่ ๙ กันยายน พ.ศ. ๒๔๐๔ พระชนมายุ ๒๘ พรรษา
เมื่อสมเด็จพระนางรำเพยภมราภิรมย์ สิ้นพระชนม์นั้น บรรดาฝรั่งพากันลดถึงครึ่งเสาให้สามวัน ซึ่งเห็นจะเป็น ครั้งแรกที่ปรากฏขึ้นในเมืองไทย ดังปรากฏในพระราชหัตถเลขาซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระ ราชทานถึงพระยาศรีพิพัฒราชทูตฉบับหนึ่งมีข้อความว่า "...แม่เพยนี้ถึงในกรุงเทพฯ ท่านทั้งปวงว่าเป็นเจ้าเล็ก เจ้าน้อยก็ดีแต่ ในเมืองที่มาทำสัญญาไมตรี แลลูกค้าพาณิชต่างประเทศเป็นอันมาก เขานับถือว่า เป็นคนโตคน ใหญ่ ตั้งแต่วันสิ้นชีวิตลงแล้ว กงสุลต่างประเทศบรรดาที่มีธง เขาก็ลดธงครึ่งเสาให้สามวัน เรือกำปั่นที่จอดทอด อยู่ในแม่น้ำทุกลำ กงสุลก็ป่าวร้องให้ลดธงแลไขว้เชือกแดงสำแดงความให้รู้ว่าเศร้าโศกสามวัน.... "
ต่อมาในปีพ.ศ.๒๔๑๑ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จเถลิงถวัลย์ขึ้นครองสิริราชสมบัติจึงทรง พระกรุณาโปรดเกล้าฯเฉลิมพระนามพระอัฐิ เพื่อเป็นการสนองพระเดชพระคุณแด่องค์พระราชชนนีพันปีหลวง เป็น"กรมสมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์" และ ต่อมาในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ เฉลิมพระนามาภิไธยเป็น "สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี"
ในปี พ.ศ.๒๕๑๙ ซึ่งเป็นปีที่ องค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระชนมายุอยู่ในช่วงวัย เบญจเพศ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนา วัดเทพศิรินทราวาส ขึ้น ตามพระนามของสมเด็จพระ ราชชนนี เพื่อทรงเฉลิมพระเกียรติ และ ทรงอุทิศพระราชกุศลถวาย สนองพระเดชพระคุณแห่ง องค์สมเด็จ พระบรมราชชนนี และ สร้างพระพุทธรูปฉลองพระองค์ สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี ประดิษฐานใน พระอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปยืนทรงเครื่องปางห้ามสมุทร สูง ๑.๗๓เมตร ฐานสูง ๔๕ เซนติเมตร  เมื่อพระอารามแห่งนี้ได้มีสถานศึกษาขึ้น องค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระ ราชทานนาม สถานศึกษาแห่งนี้ว่า โรงเรียนเทพศิรินทร์ ให้เป็นเกียรติยศ มั่นคง ถาวรสืบต่อไป